คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เกี่ยวกับงาน
รวบรวมงานที่อาจารย์สั่ง
งานแรก
งานวีดีโอ หนังสั้น http://www.youtube.com/watch?v=00pUVb1HahM
งานแบบสอบถาม https://docs.google.com/forms/d/1TgdAm6wE79ugClYlZC9Mwn6sgV6UGoD6XrCnvQpmKew/viewform
งานออกแบบประกาศรับสมัครงาน
ป้ายหาเสียง
งานออกแบบหน้าปกหนังสือ
งานวีดีโอ หนังสั้น http://www.youtube.com/watch?v=00pUVb1HahM
งานแบบสอบถาม https://docs.google.com/forms/d/1TgdAm6wE79ugClYlZC9Mwn6sgV6UGoD6XrCnvQpmKew/viewform
วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ระบบปฏิบัติการและการใช้งาน
ระบบปฏิบัติการและการใช้งาน
จากตารางความรู้เรื่องระบบปฏิบัติการที่ผ่านมาทำให้ทราบความหมาย
ลักษณะการทำงาน รวมไปถึงหน้าที่ของระบบปฏิบัติการไปแล้ว
ในบทนี้จะศึกษาเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Windows xp ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ในส่วนที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับส่วนประกอบ
คุณสมบัติต่าง ๆ รวมไปถึงวิธีการจัดการข้อมูลโดยระบบปฏิบัติการ
Window xp นี้ ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ
Windows xp
รูป Destop
Desktop (เดสก์ท็อป)
เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ Windows'98 ก็จะเปิดขึ้นมาให้เราโดยระบบปฏิบัติการจะเตรียมสิ่งต่าง ๆ เพื่อใช้งาน เมื่อทุกอย่างเสร็จแล้วก็จะมีหน้าจอปรากฏให้เห็น เปรียบเสมือนกับบนตะทำงานของเราที่มีอุปกรณ์การทำงานต่าง ๆ อยู่บนโต๊ะและพร้อมที่จะใช้งานได้
ส่วนประกอบของเดสก์ท็อป
1. ไอคอน (Icon) คือ สัญลักษณ์รูปภาพที่มีคุณสมบัติในการเรียกใช้งานต่าง ๆ เช่น เรียกใช้โปรแกรม เรียกดูข้อมูล เป็นต้น
2. ทาสก์บาร์ (taskbar) คือ แถบแนวนอนที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้าจอ มีหน้าที่แสดงสถานะการใช้งานต่าง ๆ รวมไปถึงมีปุ่มเครื่องมือที่สามารถเรียกใช้งานบางอย่างได้ ปุ่มเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น เช่น
2.1 ปุ่มควบคุ่มเสียง (Volume Control) ใช้สำหรับปรับระดับความดังของเสียง ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีระบบมัลติมีเดีย หรือมีลำโพงต่อใช้งานรวมอยู่ด้วย 2.2 แถบเครื่องมือ Quick Lunch เป็นแถบเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงโปรแกรม อินเตอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นจากเดสก์ท็อป 2.3 นาฬิกาเป็นตัวบอกเวลาปัจจุบันของเครื่อง 2.4 ปุ่มสตาร์ต (Start) ใช้เมื่อเริ่มต้นทำงาน กล่าวคือ ที่ปุ่มสตาร์ตจะมีคำสั่งย่อย ๆ ต่าง ๆ ที่จะสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม รวมไปถึงการใช้คำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องนั้น ๆ ด้วย
คุณสมบัติของหน้าต่าง
(Window)
รูปแสดงส่วนประกอบของหน้าต่าง
Window
หน้าต่าง (Window) ในโปรแกรมวินโดว์ คือคุณสมบัติตัวหนึ่งของโปรแกรมวินโดว์ กล่าวคือ เป็นมุมมองที่ทำให้เรามองให้การสภาวะทำงานในขณะที่ใช้งานอยู่เปรียบเสมือนกับการอ่านหนังสือ ถ้าอ่านหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ก็จะเปิดหน้าต่างหนึ่งหน้าต่างในโปรแกรม ถ้าอ่านหลายเล่มก็จะเปิดหน้าต่างหลาย ๆ หน้าต่างขึ้น แต่เราสามารถทำงานได้กับหน้าต่างที่เปิดขึ้นที่ละหน้าเท่านั้น เหมือนกับการที่เรามุ่งความสนใจไปที่หนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งนั่นเอง
คุณสมบัติที่ควรรู้จัก
1. แถบชื่อ (Title Bar) แสดงชื่อหน้าต่างที่เปิดขึ้นมา กรณีเรียกใช้โปรแกรมก็จะแสดงชื่อโปรแกรมนั้น ๆ
2. แถบเมนู (Menu Bar) แสดงชื่อเมนูหลักต่าง ๆ สามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเมนูที่ต้องการเพื่อเลือกคำสั่งที่ต้องการใช้
3. แถบเครื่องมือ (Tools Bar) แสดงปุ่มคำสั่งต่าง ๆ ที่ต้องการใช้งานสามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเพื่อใช้งานได้ตามต้องการ
4. แถบเลื่อนในแนวตั้ง (Vertical Scroll Bar) ใช้สำหรับเลื่อนข้อมูลในแนวตั้งแถบเลื่อนนี้จะปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติเมื่อข้อมูลในหน้าต่างนั้นแสดงให้เห็นไม่หมดตามแนวตั้ง
5. แถบเลื่อนในแนวนอน (Horizontal Scroll Bar) ใช้สำหรับเลื่อนข้อมูลในแนวนอน แถบเลื่อนนี้จะปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติเมื่อข้อมูลในหน้าต่างนั้นแสดงให้เห็นไม่หมดตามแนวนอน
6. แถบสถานะ (Status Bar) แสดงรายละเอียดข้อมูลในหน้าต่างนั้น ๆ ข้อมูลที่แสดงอาจจะเป็นข้อมูลทั้งหมดหรือข้อมูลที่เราเลือก (โดยการคลิกเมาส์ไปที่ไอคอนใด ๆ ในหน้าต่าง) นอกจากนั้นแล้วยังแสดงพื้นที่ว่างในส่วนเก็บข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่ายังมีพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล (Free Space) เหลืออีกเท่าไร
7. ปุ่มย่อหน้าต่าง (Minimize) ใช้ย่อหน้าจ่างลงให้เล็กที่สุดในขณะที่ยังไม่ต้องการใช้ชั่วคราว หัวต่างนั้น ๆ จะถูย่อให้เล็กลงเก็บไว้ที่ทาสก์บาร์ด้านล่าง
การใช้คำสั่งจากแถบเมนู
ในหน้าต่างหรือโปรแกรมใด ๆ ที่เปิดขึ้นมา เรามักจะเห็นแถบเมนูปรากฏขึ้นมาเสมอ วิธีการเรียกใช้สามารถใช้ได้โดยวิธีใช้เมาส์คลิกไปที่ชื่อเมนูใด ๆ ที่ต้องการ จะปรากฏคำำสั่งต่าง ๆ ขึ้นมา สิ่งที่ปรากฏขึ้นมานั้นเรียกว่า ดรอปดาวน์เมนู (Drop Down Menu) ถ้าต้องการใช้คำสั่งไหนก็ใช้เมาส์คลิกเลือกที่คำำสั่งนั้นได้เลย
การยกเลิกการเลือกใช้คำำสั่งทำำได้โดยคลิกเมาส์ไปที่พื้นที่วางนอกเมนูหรือจะกดคีย์Esc ก็ได้
รูปการเรียกใช้คำสั่งจากเมนู
File บนแถบเมนู
ลักษณะของคำำสั่งที่อยู่บนแถบเมนู
1. กลุ่มคำำสั่ง คือ คำำสั่งที่มีการปฏิบัติงานเหมือนกัน และเกี่ยวข้องกันจะถูกจัดแบ่งร่วมกันไว้และมีเส้นแบ่งไว้อย่างชัดเจน
2. เมนูย่อย คำำสั่งบางคำสั่งที่มีเครื่องหมายื สามเหลี่ยม ปรากฏที่ท้ายคำำสั่ง
แสดงถึงคำสั่งนั้น ๆ มีเมนูย่อยลงไปอีกซึ่งสามารถใช้เมาส์ควบคุมการใช้ได้เหมือนกัน
3. คีย์ลัด คำำสั่งหลายคำสั่งจะมีคีย์ที่ใช้เรียกคำสั่งนั้น
ๆ ปรากฏอยู่ถัดไปทางขวาของคำำสั่งนั้น ซึ่งสามารถจะเรียกใช้คำำสั่งได้โดยการกดคีย์ตัวอักษรที่ปรากฏนั้น
4. คำำสั่งที่ไม่สามารถทำงานได้ คำสั่งประเภทนี้จะทำงานเป็นสีเทา
หมายถึงคำำสั่งนั้นยังไม่สามารถใช้งานได้ในขณะนั้น
5. ไดอะลอกบ็อกซ์ คำำสั่งประเภทนี้จะมีจุดสามาจุดต่อท้าย
(...) การใช้งานจะต้องมีการกำำหนดข้อมูลเพิ่มเติมให้กับคำำสั่งนั้นในหน้าต่างที่ปรากฏขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า "ไดอะลอกบ็อกซ์"
6. คำำสั่งแบบเปิด / ปิด คำำสั่งประเภทนี้จะมีเครื่องหมาย
(ถูก) อยู่หน้าคำำสั่ง หมายถึง สามารถที่จะเปิด/ปิด (on/off) คำำสั่งนั้น
ๆ สลับไปมาได้
รู้จัก My Computer
ไอคอน My Computer ที่ปรากฏบนเดสก์ท็อปนั้นเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ควรรู้จักด้วยเหตุผลคือไอคอน My Computer จะเป็นเครื่องมือที่ใช้นากรจัดการข้อมูลต่าง
ๆ ในคอมพิวเตอร์ เช่น การค้นหาแฟ้มข้อมูลการคัดลอก (Copy) การลบ (Delete) การย้าย (Move) เป็นต้น (ในระบบปฏิบัติการ Window เราสามารถจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้หลายที่)
รูปข้อมูลใน My Computer
ไอคอนต่าง ๆ ใน My Computer ที่ควรรู้จัก
ในที่นี้จะกล่าวถึงไอคอนที่ควรรู้จักกันก่อนดังต่อไปนี้
3.5 Floppy (A:) เป็นไอคอนของแหล่งเก็บข้อมูลแผ่นดิสเกตต์โดยทั่วไปจะกำหนดให้เป็นไดรฟ์
(A:) และ (B:)
(C:) เป็นแหล่งเก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็กแข็ง
(ฮาร์ดดิสก์) โดยทั่วไปจะถูกกำหนดให้เป็นไดรฟ์ (C:) , (D:)
(F:) เป็นแหล่งเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดี-รอม
(CD-ROM) โดยทั่วไปจะถูกกำหนดให้เป็นไดรฟ์ (F:)
ปุ่มเครื่องมือใน
My Computer
กลุ่มของปุ่มเครื่องมือต่าง ๆ ที่อยู่บน My Computer จะเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำงานต่าง ๆ แทนคำสั่งบางคำสั่งบนเมนูบาร์
การใช้ปุ่มเครื่องมือสามารถใช้เมาส์คลิกเลือกทำงานได้ทันที สามารถควบคุมให้แสดงปุ่มเครื่องมือได้ เลือกคำสั่ง Tools Bar จากเมนู View
ปุ่มเครื่องมือที่น่าสนใจได้แก่
Cut
Copy
Paste
Undo
Delete
Properties
View
ที่มา : หนังสือคอมพิวเตอร์
เพื่องานอาชีพ 2001-0001 สำำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์ จำำกัด
ระบบควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ความหมายของระบบปฏิบัติการ (Operating System) หรือโปรแกรมจัดระบบ
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating
System : OS) หมายถึง โปรแกรม ที่ทำหน้าที่ในการจัดการระบบ
เพื่อติดต่อระหว่าง ฮาร์ดแวร์กับกับซอฟต์แวร์ ประเภทต่าง ๆ ให้สะดวกมากขึ้น
เปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง คอยจัดการระบบคอมพิวเตอร์
ระหว่างโปรแกรมกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ สอบ และค้นหา ไดรเวอร์ต่าง ๆ ได้เอง
มีระบบการทำงานที่เรียกว่า Plug and Play และมีหน้าจอที่สวยงาม
รองรับการใช้งาน ทางด้านอินเตอร์เน็ต และระบบมัลติมีเดีย
ได้เป็นอย่างดีให้ทดลองเปิดเครื่อง จะเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows โดยอัตโนมัติ
ลักษณะการทำงานของระบบปฏิบัติการ
1. ระบบคนเดียว (Single User) ใช้ในเครื่อง PC ที่มีผู้ใช้คนเดียวในเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น DOS (Disk Operating System) ซึ่งระบบ
DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อน
จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ
ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นําไปปฏิบัติตาม
โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม
(C:\>)ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ
ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่.
และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก
2. ระบบ Multiprogramming เป็นระบบที่มีผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกัน
เช่น Unix , Linux ซึ่ง Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN
Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต่อย่างใด
แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีแบบเปิด (Open
system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง
ผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ
ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า
ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser system)
3. ระบบ Multitasking เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายงานในเวลาเดียวกัน
เป็นหลักการในแนวเดียวกับระบบ Multiprogramming เช่น Windows ซึ่ง Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ
ผู้ใช้ (User interface) เป็นแบบกราฟิก
หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface)
โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ
ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1
โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น
ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรมเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ
Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง”
โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ
สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง
ๆ สามารถ แชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอร์ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว
ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
4. ระบบเครือข่าย (Networking) เป็นระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเชื่อมโยงส่งข้อมูลให้กันและกัน
และยังสามารถทำงานประสานกันได้เช่น NOS (network
Operating System)
รูปลักษณะการทำงานแบบเครือข่าย
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงาน หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ
แบ่งออกได้ดังนี้
1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User
Interface)
คือ ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ
ที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย
รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบปฏิบัติการ
ฮาร์ดแวร์ โปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้
2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ
อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้อง
3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบทรัพยากร (Resource)
คือ สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้
เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (Memory) อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล
(Input/Output)
ดังนั้น ระบบปฏิบัติการจะต้องจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าระบบปฏิบัติการสามารถจักสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว การทำงานของโปรแกรมต่าง
ๆ ก็สามารถทำให้ได้รวดเร็ว และได้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นด้วย
ระบบปฏิบัติการรุ่นต่างๆ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ตั้งแต่แรกเริ่มมาจนถึงปัจจุบันนี้มีหลาย
ๆ ตัวในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงระบบปฏิบัติที่มีใช้กันอยู่โดยเริ่มจากระบบปฏิบัติการที่ชื่อ MS-DOS
ก่อน
1. ระบบปฏิบัติการ
MS-DOS (Microsoft-Disk Operating System)ระบบปฏิบัติการ MS-DOS ของบริษัทไมโครซอฟต์ที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า ๆ
ถ้าผู้ใช้ต้องการใช้งานจำเป็นต้องรู้จักและใช้คำสั่งต่าง ๆ เป็น เนื่องจากต้องป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์โดยตรงจากแป้นพิมพ์
ถ้าผู้ใช้ไม่รู้จักคำสั่งหรือจำไม่ได้ ก็ไม่สามารถใช้งานได้เลย
คำำสั่งของ
DOS
คำสั่งที่สามารถใช้ในระบบปฏิบัติการ
DOS แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คำำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำำสั่งที่อยู่ในระบบของ
DOS อยู่แล้ว โดยหลังจากที่โปรแกรมเริ่มทำงานแล้วหรือเริ่มจากที่เราเปิดเครื่อง
คำำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักของเครื่อง
2. คำำสั่งภายนอก(External
Command) เป็นคำำสั่งที่อยู่นอกระบบ DOS โดยจะถูกเก็บไว้ในลักษณะของไฟล์คำำสั่งในดิสก์ ถ้าต้องการใช้คำำสั่งเหล่านี้ จำำเป็นต้องมีคำำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ในดิสก์ด้วย เช่น คำำสั่ง FORMAT คือ คำำสั่งที่ใช้สำำหรับจัดเตรียมดิสก์ใหม่ให้ถูกต้องตามระบบก่อนนำำไปใช้ งาน
(บันทึกข้อมูลใหม่) DISKCOPY คือ คำำสั่งที่ใช้สำำหรับคัดลอกข้อมูลทั้งหมดจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งไปยังอีกแผ่นหนึ่ง
CHKDSK คือ คำำสั่งที่ใช้สำำหรับตรวจสอบดิสก์เก็บข้อมูล
และให้รายงานความผิดพลาดออกมาทางจอภาพ
รูปแสดงการทำ้งานระบบปฏิบัติการ Ms-DOS
2. ระบบปฏิบัติการวินโดร์
(Windows)
ระบบปฏิบัติการวินโดร์เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รูปภาพ สัญลักษณ์ ในการติต่อกับผู้ใช้งาน
(Graphics User Interface : GUI) ผู้ใช้สามารใช้งานผ่านรูปภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง
ๆ โดยใช้เมาส์เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล ทำให้มีความสะดวกต่อการใช้งานระบบปฏิบัติการนี้จะกล่าวถึงโดยละเอียดในบทต่อไป
3. ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix)
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีการทำงานกับผู้ใช้หลายคนกับข้อมูลหลายไฟล์ในเวลาเดียวกัน
(Multitasking / Multi User) ซึ่งนิยมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย
(Work Station) ในระบบเครือข่าย
4. ระบบปฏิบัติการ OS / 2
ระบบปฏิบัติการ OS / 2 พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างบริษัทไอบีเอ็มกับบริษัทไมโครซอฟต์ เพื่อนำไปใช้กับเครื่อง PS/2 ของบริษัท
IBM
5. ระบบปฏิบัติการ Apple OS หรือ Multifinder
ระบบปฏิบัติการ Apple OS หรือ Multifinder ใช้กับเครื่องแมคอินทอชของบริษัท Apple ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นิยมนำมาใช้ในงานด้านออกแบบสิ่งพิมพ์
6. ระบบปฏิบัติการ MVS
ระบบปฏิบัติการ MVS เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM
7. ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนำต้นแบบมาจากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์โดยนายลีนัส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) ชาวฟินแลนด์ ซึ่งเขาต้องการพัฒนาให้มีความสามารถมากกว่าระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่เขาเคยใช้อยู่ ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันโดยเฉพาะในระบบเครือข่าย
(Networking) เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยชอร์สโค้ด
(Open Sourcw Code) ซึ่งผู้ใช้สามารถนำมาใช้และพัฒนาได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยคนไทยแล้ว และคงจะเป็นที่แพร่หลายในอนาคตอันใกล้นี้
คุณสมบัติของลีนุกซ์ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์มีคุณสมบัติที่เด่นกว่าระบบปฏิบัติการอื่น
ๆ ดังนี้
1. มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) เป็นคุณสมบัติที่สามารถใช้งานหรือทำงานหลายงานในเวลาเดียวกันได้อย่างดี
2. มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) เป็นคุณสมบัติที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานได้พร้อม ๆ กัน หลาย ๆ คนได้
การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
รายละเอียดในส่วนนี้จะกล่าวถึงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ปุ่มควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการเริ่มต้นการทำงานเมื่อเปิดสวิตซ์คอมพิวเตอร์
เริ่มต้นการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
จากความรู้ที่ผ่านมาเราได้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง
จำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง และโปรแกรมตัวหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญในกรที่จะควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงานำได้อีกคือ โปรแกรมระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่สำคัญดังนี้
1. ระบบปฏิบัติการรับ - ส่งข้อมูลพืนฐาน
(BIOS : Basic Input / Output System) โดยทั่วไป BIOS หรือไบออส จะทำำหน้าที่ควบคุมการทำำงานของระบบ เช่น การรับ - ส่งสัญญาณควบคุมต่าง ๆ
รวมไปถึงการรับส่งข้อมูล ตรวจสอบและแสดงสถานะการทำงานของอุปกรณ์รอบข้างให้มีการทำำงานที่สอดคล้องกัน
ซึ่งลักษณะการทำงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มต้นเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์
2. ระบบปฏิบัติการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลและดิสก์
มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล ซึ่งจัดเก็บอยู่บนดิสก์ต่างๆ เช่น
การควบคุมการรับ-ส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างตัวเครื่องกับส่วนควบคุม
การอ่านเขียนแผ่นดิสก์ิ (Disk-Drive) เช่น
การขอดูรายชื่อแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บแฟ้มข้อมูล การลบ และการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล
เริ่มต้นการทำงานด้วยวิธีต่างๆ
การเริ่มต้นการทำำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ
การติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีระบบปฏิบัติการเป็นตัวกลาง
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. Cool Boot หมายถึง
กระบวนการทำำงานโดยเริ่มจากาารเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มทำำงาน
2. Warm Boot หมายถึง
กระบวนการทำำงานที่จะเกิดขึ้นขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดงานใช้อญุ่แล้ว
แต่อาจจะเกิดปัญหาขึ้น เช่น โปรแกรมที่กำำลังทำำงานอยู่หยุดทำำงานโดยกระทันหัน
เป็นต้น สามารถทำำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ
2.1 การกดปุ่ม Reset ที่หน้าตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะเป็นผลทำำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดการทำำงานทุกอย่าง
แล้วเริ่มต้นทำำงานใหม่ตั้งแต่ต้น
2.2 การกดแป้นพิมพ์ Ctrl + Alt + Del พร้อมกันแล้วปล่อย ในระบบปฏิบัติการ Windows การกระทำำำดังกล่าว
เครื่องพิวเตอร์จะแสดงหน้าต่างให้เลือกการทำำงาน เช่น จบโปรแกรม (End Task) ปิดเครื่อง (Shut Down) หรือยกเลิก (Cancel) ซึ่งจะแตกต่างจากระบบปฏิบัติการดอส
ซึ่งจะรีเซตเครื่องทันทีทำำำให้ผู้ใช้ไม่มีโอกาสเลือกการทำำงานดังกล่าวได้
ที่มา : หนังสือคอมพิวเตอร์
เพื่องานอาชีพ 2001-0001 สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์ จำำกัด
ที่มา :
http://www.geocities.com/ourbenja/comx01.htm
:
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~hsoraj/net/OS1.html
การแบ่งประเภทคอมพิวเตอร์
การแบ่งประเภทคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานด้านต่างๆ
อย่างแพร่หลายดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้งานด้านต่างๆ ย่อมมีวัตถุประสงค์ โครงสร้าง
และปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น งานวิจัยเพื่อส่งยานอวกาศออกไปนอกโลก
หรืองานของธนาคารที่มีสาขาทั่วไป หรืองานคุมสินค้าคงคลังของห้างสรรพสินค้า
หรืองานฝึกอบรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถมศึกษา
หรืองานผลิตหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้มีการผลิตคอมพิวเตอร์ออกมาให้มีขนาดและความสามารถรวมทั้งราคาอย่างเหมาะสมกับงานด้านต่างๆ
ซึ่งการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์นี้พิจารณาจากสรรถนะของหน่วยประมวลผลกลาง
ความรู้ของหน่วยความจำ และคุณสมบัติประกอบอื่นๆ
คอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะการประมวลผล
2. แบ่งตามขนาดและความสามรถของเครื่อง
3. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามลักษณะการประมวลผลนั้น จะหมายถึงการแบ่งตามสัญญาณข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลนั่นเอง จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer) หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัดและเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัด การวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทเปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่นสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
รูปแสดงสัญญาณแบบแอนะลอก
2. คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer) ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับ ทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลา (Clock Time) มาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น
รูปแสดงสัญญาณแบบดิจิตอล
3. คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้น
การทำงานแบบผสมผสานของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามขนาดปละความสามารถของเครื่อง
จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก
ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้
1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด
โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน
และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe
Computer) หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง
สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ
นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี
โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่
มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท
ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ
คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro
Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก
มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด
สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal
Computer : PC) ปัจจุบัน
ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน
นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก
ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน
บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ
บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2
ประเภทใหญ่ๆ คือ
แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop
Computer) แบบเคลื่อนย้ายได้
(Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว
อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า
Laptop Computer หรือ Notebook Computer
ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
คอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะในด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีอุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติมเพื่อวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆ ขึ้นมาอีก
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ (Special Purpose Computer)
หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุม
ให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ (Inflexible) โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุม
หรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็ว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร
คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟท์ หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์ เป็นต้น
2.
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible)
โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ
ได้โดยสะดวก โดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา
และเมื่อผู้ใช้ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไร
ก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งาน
โดยเราสามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้ เช่น
ในขณะหนึ่งเราอาจใช้เครื่องนี้ในงานประมวลผลเกี่ยวกับระบบบัญชี
และในขณะหนึ่งก็สามารถใช้ในการออกเช็คเงินเดือนได้ เป็นต้น
ที่มา: http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page31.htm
: http://armka2518.exteen.com/20090116/entry-2
: หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สำนักพิมพ์แม็ค จำำกัด : หนังสือคอมพิวเตอร์
เพื่องานอาชีพ 2001-0001 สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์ จำำกัด
http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page32.htm
: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=439392
: http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=nkr2008&id=118
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นคือ สามารถคิดคำนวณตัวเลขจำนวนมากได้รวดเร็วและแม่นยำำ การคิดคำำนวณและจัดการข้อมูลทำได้รวดเร็ว
นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังสามารถเก็บข้อมูลได้มาก เมื่อจัดเก็บแล้วสามารถเรียกค้น หรือคัดแยกได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยที่การดำำเนินการต่างๆ จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์กำำหนดไว้
คอมพิวเตอร์ทำำงานตามชุดคำำสั่งหรือโปรแกรม ตามหลักการที่จอห์น วอน นอยแมน เสนอและใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำำำสำำหรับเก็บซอฟต์แวร์และข้อมูล การทำำงานของคอมพิวเตอร์จะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)