ระบบปฏิบัติการและการใช้งาน
จากตารางความรู้เรื่องระบบปฏิบัติการที่ผ่านมาทำให้ทราบความหมาย
ลักษณะการทำงาน รวมไปถึงหน้าที่ของระบบปฏิบัติการไปแล้ว
ในบทนี้จะศึกษาเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Windows xp ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ในส่วนที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับส่วนประกอบ
คุณสมบัติต่าง ๆ รวมไปถึงวิธีการจัดการข้อมูลโดยระบบปฏิบัติการ
Window xp นี้ ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ
Windows xp
รูป Destop
Desktop (เดสก์ท็อป)
เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ Windows'98 ก็จะเปิดขึ้นมาให้เราโดยระบบปฏิบัติการจะเตรียมสิ่งต่าง ๆ เพื่อใช้งาน เมื่อทุกอย่างเสร็จแล้วก็จะมีหน้าจอปรากฏให้เห็น เปรียบเสมือนกับบนตะทำงานของเราที่มีอุปกรณ์การทำงานต่าง ๆ อยู่บนโต๊ะและพร้อมที่จะใช้งานได้
ส่วนประกอบของเดสก์ท็อป
1. ไอคอน (Icon) คือ สัญลักษณ์รูปภาพที่มีคุณสมบัติในการเรียกใช้งานต่าง ๆ เช่น เรียกใช้โปรแกรม เรียกดูข้อมูล เป็นต้น
2. ทาสก์บาร์ (taskbar) คือ แถบแนวนอนที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้าจอ มีหน้าที่แสดงสถานะการใช้งานต่าง ๆ รวมไปถึงมีปุ่มเครื่องมือที่สามารถเรียกใช้งานบางอย่างได้ ปุ่มเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น เช่น
2.1 ปุ่มควบคุ่มเสียง (Volume Control) ใช้สำหรับปรับระดับความดังของเสียง ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีระบบมัลติมีเดีย หรือมีลำโพงต่อใช้งานรวมอยู่ด้วย 2.2 แถบเครื่องมือ Quick Lunch เป็นแถบเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงโปรแกรม อินเตอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นจากเดสก์ท็อป 2.3 นาฬิกาเป็นตัวบอกเวลาปัจจุบันของเครื่อง 2.4 ปุ่มสตาร์ต (Start) ใช้เมื่อเริ่มต้นทำงาน กล่าวคือ ที่ปุ่มสตาร์ตจะมีคำสั่งย่อย ๆ ต่าง ๆ ที่จะสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม รวมไปถึงการใช้คำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องนั้น ๆ ด้วย
คุณสมบัติของหน้าต่าง
(Window)
รูปแสดงส่วนประกอบของหน้าต่าง
Window
หน้าต่าง (Window) ในโปรแกรมวินโดว์ คือคุณสมบัติตัวหนึ่งของโปรแกรมวินโดว์ กล่าวคือ เป็นมุมมองที่ทำให้เรามองให้การสภาวะทำงานในขณะที่ใช้งานอยู่เปรียบเสมือนกับการอ่านหนังสือ ถ้าอ่านหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ก็จะเปิดหน้าต่างหนึ่งหน้าต่างในโปรแกรม ถ้าอ่านหลายเล่มก็จะเปิดหน้าต่างหลาย ๆ หน้าต่างขึ้น แต่เราสามารถทำงานได้กับหน้าต่างที่เปิดขึ้นที่ละหน้าเท่านั้น เหมือนกับการที่เรามุ่งความสนใจไปที่หนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งนั่นเอง
คุณสมบัติที่ควรรู้จัก
1. แถบชื่อ (Title Bar) แสดงชื่อหน้าต่างที่เปิดขึ้นมา กรณีเรียกใช้โปรแกรมก็จะแสดงชื่อโปรแกรมนั้น ๆ
2. แถบเมนู (Menu Bar) แสดงชื่อเมนูหลักต่าง ๆ สามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเมนูที่ต้องการเพื่อเลือกคำสั่งที่ต้องการใช้
3. แถบเครื่องมือ (Tools Bar) แสดงปุ่มคำสั่งต่าง ๆ ที่ต้องการใช้งานสามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเพื่อใช้งานได้ตามต้องการ
4. แถบเลื่อนในแนวตั้ง (Vertical Scroll Bar) ใช้สำหรับเลื่อนข้อมูลในแนวตั้งแถบเลื่อนนี้จะปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติเมื่อข้อมูลในหน้าต่างนั้นแสดงให้เห็นไม่หมดตามแนวตั้ง
5. แถบเลื่อนในแนวนอน (Horizontal Scroll Bar) ใช้สำหรับเลื่อนข้อมูลในแนวนอน แถบเลื่อนนี้จะปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติเมื่อข้อมูลในหน้าต่างนั้นแสดงให้เห็นไม่หมดตามแนวนอน
6. แถบสถานะ (Status Bar) แสดงรายละเอียดข้อมูลในหน้าต่างนั้น ๆ ข้อมูลที่แสดงอาจจะเป็นข้อมูลทั้งหมดหรือข้อมูลที่เราเลือก (โดยการคลิกเมาส์ไปที่ไอคอนใด ๆ ในหน้าต่าง) นอกจากนั้นแล้วยังแสดงพื้นที่ว่างในส่วนเก็บข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่ายังมีพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล (Free Space) เหลืออีกเท่าไร
7. ปุ่มย่อหน้าต่าง (Minimize) ใช้ย่อหน้าจ่างลงให้เล็กที่สุดในขณะที่ยังไม่ต้องการใช้ชั่วคราว หัวต่างนั้น ๆ จะถูย่อให้เล็กลงเก็บไว้ที่ทาสก์บาร์ด้านล่าง
การใช้คำสั่งจากแถบเมนู
ในหน้าต่างหรือโปรแกรมใด ๆ ที่เปิดขึ้นมา เรามักจะเห็นแถบเมนูปรากฏขึ้นมาเสมอ วิธีการเรียกใช้สามารถใช้ได้โดยวิธีใช้เมาส์คลิกไปที่ชื่อเมนูใด ๆ ที่ต้องการ จะปรากฏคำำสั่งต่าง ๆ ขึ้นมา สิ่งที่ปรากฏขึ้นมานั้นเรียกว่า ดรอปดาวน์เมนู (Drop Down Menu) ถ้าต้องการใช้คำสั่งไหนก็ใช้เมาส์คลิกเลือกที่คำำสั่งนั้นได้เลย
การยกเลิกการเลือกใช้คำำสั่งทำำได้โดยคลิกเมาส์ไปที่พื้นที่วางนอกเมนูหรือจะกดคีย์Esc ก็ได้
รูปการเรียกใช้คำสั่งจากเมนู
File บนแถบเมนู
ลักษณะของคำำสั่งที่อยู่บนแถบเมนู
1. กลุ่มคำำสั่ง คือ คำำสั่งที่มีการปฏิบัติงานเหมือนกัน และเกี่ยวข้องกันจะถูกจัดแบ่งร่วมกันไว้และมีเส้นแบ่งไว้อย่างชัดเจน
2. เมนูย่อย คำำสั่งบางคำสั่งที่มีเครื่องหมายื สามเหลี่ยม ปรากฏที่ท้ายคำำสั่ง
แสดงถึงคำสั่งนั้น ๆ มีเมนูย่อยลงไปอีกซึ่งสามารถใช้เมาส์ควบคุมการใช้ได้เหมือนกัน
3. คีย์ลัด คำำสั่งหลายคำสั่งจะมีคีย์ที่ใช้เรียกคำสั่งนั้น
ๆ ปรากฏอยู่ถัดไปทางขวาของคำำสั่งนั้น ซึ่งสามารถจะเรียกใช้คำำสั่งได้โดยการกดคีย์ตัวอักษรที่ปรากฏนั้น
4. คำำสั่งที่ไม่สามารถทำงานได้ คำสั่งประเภทนี้จะทำงานเป็นสีเทา
หมายถึงคำำสั่งนั้นยังไม่สามารถใช้งานได้ในขณะนั้น
5. ไดอะลอกบ็อกซ์ คำำสั่งประเภทนี้จะมีจุดสามาจุดต่อท้าย
(...) การใช้งานจะต้องมีการกำำหนดข้อมูลเพิ่มเติมให้กับคำำสั่งนั้นในหน้าต่างที่ปรากฏขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า "ไดอะลอกบ็อกซ์"
6. คำำสั่งแบบเปิด / ปิด คำำสั่งประเภทนี้จะมีเครื่องหมาย
(ถูก) อยู่หน้าคำำสั่ง หมายถึง สามารถที่จะเปิด/ปิด (on/off) คำำสั่งนั้น
ๆ สลับไปมาได้
รู้จัก My Computer
ไอคอน My Computer ที่ปรากฏบนเดสก์ท็อปนั้นเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ควรรู้จักด้วยเหตุผลคือไอคอน My Computer จะเป็นเครื่องมือที่ใช้นากรจัดการข้อมูลต่าง
ๆ ในคอมพิวเตอร์ เช่น การค้นหาแฟ้มข้อมูลการคัดลอก (Copy) การลบ (Delete) การย้าย (Move) เป็นต้น (ในระบบปฏิบัติการ Window เราสามารถจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้หลายที่)
รูปข้อมูลใน My Computer
ไอคอนต่าง ๆ ใน My Computer ที่ควรรู้จัก
ในที่นี้จะกล่าวถึงไอคอนที่ควรรู้จักกันก่อนดังต่อไปนี้
3.5 Floppy (A:) เป็นไอคอนของแหล่งเก็บข้อมูลแผ่นดิสเกตต์โดยทั่วไปจะกำหนดให้เป็นไดรฟ์
(A:) และ (B:)
(C:) เป็นแหล่งเก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็กแข็ง
(ฮาร์ดดิสก์) โดยทั่วไปจะถูกกำหนดให้เป็นไดรฟ์ (C:) , (D:)
(F:) เป็นแหล่งเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดี-รอม
(CD-ROM) โดยทั่วไปจะถูกกำหนดให้เป็นไดรฟ์ (F:)
ปุ่มเครื่องมือใน
My Computer
กลุ่มของปุ่มเครื่องมือต่าง ๆ ที่อยู่บน My Computer จะเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำงานต่าง ๆ แทนคำสั่งบางคำสั่งบนเมนูบาร์
การใช้ปุ่มเครื่องมือสามารถใช้เมาส์คลิกเลือกทำงานได้ทันที สามารถควบคุมให้แสดงปุ่มเครื่องมือได้ เลือกคำสั่ง Tools Bar จากเมนู View
ปุ่มเครื่องมือที่น่าสนใจได้แก่
Cut
Copy
Paste
Undo
Delete
Properties
View
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น