ระบบคอมพิวเตอร์ ( Computer
System)
ในการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแล้วให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามความต้องการของผู้ใช้งานนั้น ย่อมต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภททำงานร่วมกัน โดยมีคำสั่งหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเป็นตัวสั่งการให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานได้ตามที่มนุษย์ต้องการ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงระบบคอมพิวเตอร์สิ่งสำคัญของระบบจึงได้แก่ ฮาร์ดแวร์(hardware) ซอฟต์แวร์(software) และบุคลากร(Peopleware) นั่นคือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
• ฮาร์ดแวร์(hardware)
• ซอฟต์แวร์(software)
• บุคลากร(Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนประกอบ โครงสร้าง รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สนับสนุนการทำำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้มนุษย์สามารถมองเห็นและสัมผัสได้หน้าที่ของฮาร์ดแวร์ก็คือทำำงานตามคำำสั่งควบคุมการทำำงานต่างๆที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า
ทำำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือแป้นพิมพ์(Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น
ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์(Scanner),วีดีโอคาเมรา Video
Camera), ไมโครโฟน (Microphone),
ทัชสกรีน (Touch
screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์
เทเบิ้ล แอนด์
ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์
มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำำนวณ
-
หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล
หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
-
หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก
ลบ การเปรียบเทียบ
-
หน่วยความจำำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น
ๆ ได้โดยตรง มี 2 ประเภท
3.1 หน่วยความจำภายใน
-
หน่วยความจำำแบบแรม (Random Access Memory หรือ
Ram) เป็นหน่วยความจำำชั่วคราว
ที่ใช้สำำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น
มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา
ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำำให้ข้อมูลต่าง ๆ
ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
-
หน่วยความจำำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom)
เป็นหน่วยความจำำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว
ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ
ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
3.2 หน่วยความจำำสำำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก
แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM แผ่นดิสก์หรือสเกต
เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก
การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์
โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ
-
แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
-
แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD
สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD
สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
- แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)
ซอฟแวร์ (Software) คือ คำำสั่ง หรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่ควบคุมการทำำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นส่วนที่ทำำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์) สามารถสื่อสารกันได้ ทั้งนี้อาจแบ่งซอฟต์แวร์ตามหน้าที่ของการทำำงานได้ดังนี้
1. โปรแกรมจัดระบบ (System Software) คือ
ชุดคำำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำำงานของคอมพิวเตอร์
เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง
ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
2.
โปรแกรม์ประยุกต์ (Application Software) คือ
ชุดคำำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ
-โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access
Oracle
- โปรแกรมพิมพ์เอกสาร เช่น
Microsoft Word
- โปรแกรมสร้าง Presentation เช่น
Microsoft Power Point
- โปรแกรมช่วยสอน (CAI - Computer Aids Intrruction )
- โปรแกรมคำำนวณ เช่น
Microsoft Excel
รูปโปรแกรมประเภทต่างๆ
รูปโปรแกรมประเภทต่างๆ
(ต่อ)
3. โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้เครื่องมืในการช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความคล่องตัวขึ้น
และสามารถแก้ปัญหาอันเกิดจากการใช้งานได้ เช่น
- โปรแกรมกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์
เช่น Mcafee, Scan, Norton Anitivirus
- โปรแกรมที่ใช้บีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง
เพื่อให้สามารถคัดลอกไปใช้ได้สะดวก เช่น Winzip เป็นต้น
4. โปรแกรมแปลงภาษา (Language Translater) ใช้ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานด้านต่างๆ
โดยการเขียนชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
และใช้โปรแกรมแปลงภาษาดังกล่าวทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้น (High
Level Language) ให้ไปเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้
(Low Level Language)
โปรแกรมแปลงภาษาโดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
4.1 คอมไพเลอร์ (Compiler)
โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นทั้งหมด
(ตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย) ในคราวเดียวกัน เช่น ภาษา Pascal, C,
C++
4.2 อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่ง แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมา
ทำให้ง่ายต่อการแก้ไขคำสั่งที่ผิดพลาดได้ทันที เช่น ภาษา Basic
พีเพิลแวร์ (People Ware) หรือผู้ใช้ระบบ
ในระบบคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งที่จะก่อใ้เกิดผลลัพธ์จากการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำำงาน
ด้วยเหตุที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างชุดคำำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องนั่นเอง
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับต่างๆ ดังนี้
1. ผู้บริหาร (Manager) ทำหน้าที่กำกับดูแลวางแนวนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เพื่อให้องค์กรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักวิเคราะห์และนักออกแบบระบบ (System Analysis &
Deign) ทำำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบงาน
เพื่อนำำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน
3. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ทำำหน้าที่เขียน/สร้างชุดคำำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำำงาน
4. ผู้ปฏิบัติการ (Operator) ทำำหน้าที่ควบคุมเครื่อง
เตรียมข้อมูล และป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น